การถอดเครื่องออกจากตู้ไม้
การ ซ่อมบำรุงนาฬิกาตั้งพื้น กรณีท่าน ที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถถอดเครื่องนาฬิกาออกมา ด้วยตนเอง และจัดส่งทางพัสดุไปรษณีย์ กระผมขอแนะนำวิธีการถอด นาฬิกา MAUTHE รุ่นที่มีใช้โดยทั่วไป โดยสังเขปดังนี้
การถอดออกมาจากตู้ไม้ ซึ่งมีชิ้นส่วนต่างๆ คือ
๑. ลูกตุ้มน้ำหนัก(Weight Cylinder) ๓ ลูก
๒. ลูกตุ้มแกว่ง(Pendulum)
๓. แกนแขวนลูกตุ้ม (Pendulum Leader)
๔. แท่นไม้ ยึดเครื่อง (Wooden Base)
๕. โซ่ตุ้มน้ำหนัก(Weight Chain) อาจไม่ต้องถอดออก
หมายเหตุ ลักษณะขอเกี่ยว แพนดูลั่ม และ แกนแขวน ในนาฬิกา รุ่นอื่น อาจแตกต่างกันไป จะให้คำแนะนำ เป็นกรณีๆ
๑. การถอดลูกตุัมน้ำหนัก ให้ยกลูกตุ้ม และปลดตะขอเกี่่ยว โดยหมุนหูเกี่ยวเข้าหา หัวลูกตุ้ม ก็จะถอดออกได้โดยง่าย ข้อควรระวังควรทำเครื่องหมาย ตำแหน่งลูกตุ้ม แต่ละลูก เช่นอยู่ที่ 7, 6 และ 5 นาฬิกา เพราะอาจมีน้ำหนักไม่เท่ากัน ในชุดเพลง และชุดตีบอกเวลา อาจหนักกว่า
๒. การถอด ตุ้มแกว่ง หรือ แพนดูลั่ม(Pendulum) ทำหน้าที่ให้นาฬิกาเดิน ติ๊ก-ต๊อก โดยจะแขวนอยู่บนปลาย แกนแขวน(Pendulum Leader) และปลายอีกด้านจะแขวนอยู่กับ ใบข้าว (เป็นแผ่นสปริง ๒ แถบ ทำหน้าที่รับน้ำหนักของชุด แพนดูลั่มทั้งหมด หรือเรียกว่า Suspension Spring)
ปลาย แพนดูลั่ม แขวนอยู่กับ สลักขวาง ให้ยก แกนแพนดูลั่ม ขึ้น ก็จะถอดออกมาได้ (เครื่องรุ่นอื่น อาจมิใช่เป็นแบบนี้ ส่วนมากจะเป็นแบบตะขอ ให้ประกบเข้าหาก้น ก็ถอดไม่ยาก เช่นกัน)
ระวัง เมื่อถอดออกมาแล้ว ต้องนำไปเก็บไว้ให้ดี อย่าให้แกนไม้หัก และสกรูตรงปลายเลื่อน เพราะจะทำให้เครื่องเดินผิดเวลา จะแนะนำวิธีปรับให้ ภายหลัง
๓. การถอดแกนแขวนแพนดูลั่ม เมื่อถอดลูกตุ้ม และ แพนดูลั่มออกแล้ว ก็สามารถถอดแท่นไม้ยึดเครื่องออกได้เลย แกนแขวนนี้ มาถอดข้างนอก และที่ต้องถอดออก เพราะมันยื่นยาวกว่าเครื่อง อาจงัด งอ หรือทำให้ใบข้าวชำรุดได้
ด้าน หลังเครื่อง พบว่า ส่วนบนจะเป็นแผ่นสปริง(Suspension Spring) หรือเรียกว่า ใบข้าว รองรับน้ำหนักชุดแพนดูลั่ม การถอดแกนแขวนโดยยกขึ้น ให้ตะขอหลุดจากแกนสลัก บนใบข้าว ใช้สองมือ ระวังแผ่นสปริงหัก
เมื่อ ถอดแกนแขวนออกมาแล้ว ยังไม่สามารถเอาออกมาได้ ต้องเลื่อนแกนแขวน ลงมา ให้ส่วนที่เป็นร่องบากอยู่บนปลาย จ จาน แล้วหมุนออก ตามร่อง ตัวแอล
นาฬิการุ่นอื่น อาจไม่เป็นแบบนี้ อาจเป็นลักษณะ แกน หรือ เดือย ยื่นออกมา เมื่อยกแกนแขวนขึ้น แล้วปลดออกมาจากเดือย ก็ถอดได้แล้ว
๔. การถอดแท่นไม้ยึดเครื่อง จุดถอดแท่นไม้ มีสองด้าน มีสกรูเกลียวปล่อย ขันยึดอยู่ ให้ใช้ไขควง (แบน หรือ แฉก) ไขออกมา ไม่ต้องสุด ถ้าหลุดต้องเก็บสกรูไว้ให้ดี
แท่น ไม้ยึดเครื่อง จะประกอบอยู่ในร่องไม้ ทั้งสองด้าน สกรูช่วยยึดให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดี มิให้เลื่อนเข้าออกได้ หมุนคลายสกรูออก ก็สามารถดึงแท่นไม้ออกมาได้
ค่อยๆ เลื่อนเครื่องออกมา ระวังมิให้ค้อนเคาะ เกี่ยวกับแกนเสียง จะทำให้แกนค้อนเสียแนวได้ แต่ก็สามารถดัดแต่งภายหลัง การใส่เข้าก็เช่นเดี่ยวกันต้องระวัง มิให้เกี่ยวกับแกนเสียง มิฉะนั้น ค้อนจะเคาะไม่ตรงแนวแกนเสียง เสียงไม่ออก หรือ ไม่กังวาน
มือ ประคองแท่นไม้ ดึงออกมา ตามร่องไม้ เครื่องถูกถอดออกมา พร้อมกับโซ่ ระวัง บางรุ่น เครื่องหนัก อย่าให้เครื่องหลุดมือ หล่นไปเด็ดขาด "งานเข้า" แน่ ๆ
๕. การถอดโซ่ สามารถถอดภายนอกได้ ให้ช่างถอดดีกว่า แต่จะแนะนำวิธีการ ต้องถอดตะขอเกี่ยวลูกตุ้มออก (ต้องเก็บ ตะขอ และ ข้อโซ่ ไว้ให้ดี) แล้วดึงโซ่ เฟืองยึดร่องโซ่ ซึ่งเป็นเฟืองกันกลับ ก็จะฟรี ทำให้โซ่หลุดออกมา อาจมีวิธีการ โดยให้โซ่ ฟรีจากฟันเฟือง แล้วค่อยๆ ดึงออกมา ใช้ฝีมือหน่อย
การจัดส่ง เพื่อมาซ่อม
เมื่อ ถอดเครื่องออกได้แล้ว ชิ้นส่วนที่ส่งมาซ่อม อาจเป็นเฉพาะ เครื่องนาฬิกา ซึ่งจะมีแท่นไม้ พร้อมหน้าปัทม์ เข็ม สั้น-ยาว และ โซ่ ติดกันมา ส่วนลูกตุ้ม และแพนดูลั่ม ไม่ต้องส่งมาก็ได้ ให้ขัด ทำความสะอาดด้วยตนเอง ใช้บาสโซ่ หรือ ยาขัดสีรถ ขัดก็ได้ ในลำดับต่อไป คือการบรรจุเพื่อจัดส่งมาซ่อม จะต้องมีวัสดุกันสะเทือน และผูกมัดแน่นหนา ทางเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ จะมีคำแนะนำ และดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี
การประกอบเครื่อง เข้าที่เดิม
จาก นี้นำเครื่องไปถอดออก เป็นชิ้นๆ ตรวจสอบการชำรุด ล้างชิ้นส่วนต่างๆ ทำความสะอาด หยอดน้ำมันหล่อลื่น แล้วประกอบเข้าที่เดิม โดยเครื่องพร้อมโซ่ และแกนแขวน ซึ่งอยู่บนแท่นไม้ นำเข้าร่องไม้ ทั้งสองด้าน ดันแท่นไม้เข้าไป ระวังแกนค้อน เกี่ยวแกนเสียง ที่ร่องไม้จะมีตะปูยาว ขวางอยู่ ดันแท่นไม้จนสุดยันตะปูขวาง คือตำแหน่งที่ชุดค้อนเคาะ ตรงกับแนวแกนเสียงพอดี ขันยึดแท่นไม้ แล้วประกอบ แพนดูลั่ม และ ลูกตุ้ม ทั้งสามลูก เครื่องก็พร้อมจะเดิน ต่อไป
การดึงโซ่ ไม่ควรดึงโซ่ด้านเดียว ควรใช้ผ้า มือจับลูกตุ้ม ช่วยออกแรงยกขึ้นไปด้วย จะลดแรงเหนี่ยวรั้ง ที่เฟืองโซ่ ของนาฬิกา
ส่วน ประกอบของกลไก คอม้า(ชุดคลายเฟืองหนาม) มักมีชิ้นส่วนความฝืด ทำให้คอม้า ปรับแนวศุนย์ ได้เอง ดังนั้น ในตอนเริ่มต้นสามารถจับ แกนลูกตุ้ม ให้แกว่งกว้างสุด ลูกตุ้มจะค่อยๆ แกว่งเข้าที่ ได้ตำแหน่งเอง
ในรายละเอียดทางเทคนิค ถ้ามีข้อสงสัย โทร ปรึกษา สอบถาม ด็อกเตอร์คล็อกได้ (081 684 6705)