งานซ่อมนาฬิกาโบราณ

นาฬิกาโบราณแบบไขลาน  แขวนผนัง ใช้งานไปนานๆ หรือ ไม่ได้ใช้งานนาน นาฬิกาอาจเดินไม่ตรง หรือหยุดเดิน สาเหตุประการหนึ่งคือ ชิ้นส่วนนาฬิกาสกปรก น้ำมันหล่อลื่นหมดสภาพ ต้องถอดชิ้นส่วน ทำการล้าง ประกอบ หยอดน้ำมันหล่อลื่น ปรับตั้งให้ได้งานได้ดังเดิม

สาเหตุอีกประการคือ อาจมีชิ้นส่วนชำรุด เช่น ลานขาด ระบบภายชำรุด ไม่ว่าจะเป็นชุดเดินเวลา(Time  Keeping Unit)  ชุดตีบอกชั่วโมง(Hour Striking Unit)  หรือ ชุดเสียงเพลง (Chime Unit) ได้แก่กรณีเป็นนาฬิกาแบบสามลาน หรือสามลูกตุ้ม

นาฬิกาประเภทลานจะต้องมีเครื่องมือช่วยในการม้วน หรือ คลายลาน  ด็อกเตอร์คล็อก ได้สร้างเครื่องมือช่วยดังรูป  งานถอดลานนาฬิกาจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ช่าง หรือ ต่อชิ้นส่วนนาฬิกาได้ ต้องสวมถุงมือหนัง ป้องกัน และทำด้วยความระมัดระวัง  ขั้นตอนแรกคือการคลายลานในเครื่องนาฬิกาก่อน  และใช้ลวดมัดลาน กรณีเป็นลานประเภทไม่มีหม้อลาน ซึ่งเรียกว่า Loop End Spring ถ้าลานขาด แต่ยังไม่ล้าเกิน ก็ควรซ่อม การซ่อมหูปลายนอก จะง่ายกว่า  แต่ถ้ารูเกี่ยวแกนไข ด้านใน หรือสะดือ จะยากกว่า  ต้องทำให้ลานสปริงส่วนที่จะซ่อมอ่อนตัว  เจาะรู และตะไบแต่ง  ปัจจัยอีกประการ นาฬิกาที่ใช้ไปนานๆ  สปริงอาจล้า หมดกำลัง  ก็ควรเปลี่ยนสปริงใหม่จะดีกว่า

รูป นำขดสริงจากเรือน ออกมา เพื่อคลายออก ทำความสะอาด  แล้วนำมาหมุนขึ้นลาน  ก่อนนำไปประกอบเข้าเครื่อง  กรณีเป็นสปริงประกอบในหม้อลาน (Main Spring  Barrel) จะมีชุดปะกับยึดหม้อลาน และปลอก(Spring Sleeve Holder) นำขดสปริงออกมา

ชิ้นส่วนนาฬิกาชำรุด หาอาหลั่ยไม่ได้ ด็อกเตอร์คล็อกไปวิ่งหาเสียทั่วแล้ว ร้านดังๆ ที่พอมี ก็ไม่ใช่รุ่นของมัน ถ้าหากในอีกสิบปีข้างหน้า นาฬิกาชำรุด ช่างท่านใดซ่อมต่อจากเรา เขาก็คงจะต่อว่าได้ ก็เลยต้องพยายามซ่อมให้ดีที่สุด  เฟืองกันกลับของลาน บิ่นหัก (วัสดุที่ใช้ทำเดิม น่าจะเป็นทองเหลืองหล่อ  จะพบรูพรุนในเนื้อวัสดุ) พยายามเชื่อมพอก (ได้รับความอนุเคราะห์ จาก อาจารย์ มนตรี Shop ช่างเชื่อม) ก็ไม่น่าไปต่อได้ ด็อกเตอร์คล็อก ก็เลยต้องลงมือกลึง และทำชิ้นส่วนใหม่เอง (อาจารย์ปริญญา ใช้ Wire Cut ตัดเฟือง เป็นเรื่องใหญ่เลย)

ได้เฟืองกันกลับ ตัวใหม่เหมือนเดิม สุดยอดน่าภูมิใจไทยทำ  ศิษย์ไทย-เยอรมัน พระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ตะไบมาตั้งแต่วัยรุ่น มีอะไรก็อยากจะทำเอง ไม่อยากซื้อ

นาฬิกาเก่า ๆ บางครั้งต้องทำชิ้นส่วนเฉพาะ เช่น แกนหัก เฟืองชำรุด สปริงหัก ชิ้นส่วนระบบตีบอกเวลา อย่างที่จะนำเสนอ เป็นส่วนรองรับหวี (Rack Holder) นำเศษแผ่นหม้อแปลง มาร่างแบบ โดยทำมา ๓ ครั้ง ร่างจากกระดาษ แผ่นทองแดง แผ่นสแตนเลส แล้วมาแผ่นเหล็ก เพราะสแตนเลสทำยาก และไม่แข็งแรงพอ ตอนนี้ก็ตีบอกเวลาได้ดี ทีเดียว

งานถอดล้างนาฬิกาปลุก เยอรมัน หน้าปัทม์เซอรามิก  ลานปลุกขาด หาอาหลั่ยไม่ได้ ต้องทำการเจาะรู ตะไบ และประกอบ จะเห็นในภาพ ที่วงในสุดจะเป็นรู ใช้งานได้ดีเหมือนเดิม

งานถอดล้าง นาฬิกาไขลาน แขวนผนัง (ไม่ค่อยอยากเรียก นาฬิกาโบราณ เพราะตอนผมเด็กๆ  ก็เรียกว่านาฬิกาเฉยๆ) จะเห็นว่าสภาพสกปรกมาก ต้องขัดล้างให้แวววาว สวยงาม และเดินได้เที่ยงตรง  "On the Dot"

 

 

ดร. คล็อก ล้างทำความสะอาด นาฬิกา ด้วยเครื่อง อัลตร้าโซนิค  ทำให้เครื่องเดินได้ดี อายุการใช้งานนานขึ้น

ก่อนการถอดล้างมีงานสำคัญประการหนึ่งคือ การตรวจสอบรูแกนหลวมคลอน ขยับให้เฟืองหมุน จะสังเกตุเห็นด้วยตา ปลายแกนขยับไปมาในรูแกน หรือเอามือ ขยับแกนเฟือง ก็จะเห็น ทำเครื่องหมาย และทิศทางที่สึก เบี้ยวไป  เมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว ก็นำมาตรวจและทำการย้ำรูแกน กรณีรูสึกมาก อาจต้องทำบูช รูแกนใหม่  ตะไบขัด ตรวจสอบความคล่องตัว

เมื่อถอดล้างทำความสะอาด  หยอดน้ำมันหล่อลื่น  เสร็จ ขั้นตอนต่อไป คือการทดสอบการเดินของเครื่อง ปรับตั้งให้เดินเที่ยงตรง  ดร.คล็อก ได้ออกแบบสร้างแท่นยึดเครื่อง  เพื่อทดสอบ (Test Run Stand)

 

งานซ่อมนาฬิกาโบราณ จริงๆ รุ่น "Lechner  Jozef  Budapest"  เครื่องนาฬิกาติดตั้งอยู่ใน Pendulum ซึ่งจะแกว่งไปมา  งานซ่อมที่ต้องดำเนินการ คือ ชุดแขวน เพนดูลั่ม หัก นัตหักคา  ขายึดแท่นเครื่องหลุด ชุดตีบอกเวลาไม่ทำงาน  ชุดเดินเวลา แกนคอม้าหัก ชิ้นงานทองเหลือง เก่าขึ้นคราบดำ หมอง

 

แกนคอม้า ปลายด้านหางม้า หัก  และสวมกันด้วยเกลียว ไม่มีชุดความฝืด (Friction) แกนขนาด 2 mm.  ต้องหาเหล็กคาร์บอน มากลึง และทำให้ได้ปลายแกน ขนาด 0.6 mm.

 

 

หน้าปัทม์ ของนาฬิกา  สภาพเดิมๆ  ไม่อยากล้างให้เงา แวววาว ให้ดูเก่า ขลังดี ประกอบ แขวนผนัง แกว่งเบา ปรับศูนย์ ฟังเสียงเต้นหัวใจของนาฬิกา  เมื่อได้ศูนย์ ตุ้มจะแกว่งไป-มา แต่มุมน้อยมาก ประมาณ 3600 bph คือ ๑ วินาที แกว่ง ซ้าย ไป ขวา

นาฬิกา Seiko  Sonola เป็นนาฬิกาเก่า ประมาณ 50 ปี ใช้  Transistor ร่วมกับ คอล์ยเหนี่ยวนำ  Pendulum แม่เหล็ก ประกอบกับกลไก ทำให้เฟืองทด หมุนชุดเดินเวลา และระบบตีบอกเวลา  การชำรุดคือ แกนนาทีหัก  เจ้าของเครื่องนำมาเป็นชิ้นๆ เพราะผ่านการซ่อม โดยช่างถอดเครื่องดั้งเดิมออก แล้วใช้นาฬิกา คอว์ท ประกอบแทนมา  ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของเจ้าของเครื่อง ที่ต้องการสร้างความประทับใจ ให้คุณพ่อ

แกนนาที สแตนเลส ส่วนล่างหัก ต้องกลึงใหม่  ถอดชิ้นส่วนเครื่องออกเป็นชิ้นๆ ทำความสะอาด ขัดล้าง  พร้อมประกอบ

ส่วนประกอบภายใน มอเตอร์ ทำหน้าที่ขับหมุน กลไกระบบตีบอกเวลา   และมีชุดเฟืองทด บอกวัน วันที่ สัปดาห์

เครื่องประกอบเสร็จ เดินได้ปกติ และตรงเวลา                                          เรือนนี้ ถอดหล้าง ทำความสะอาด หล่อลื่น ปรับตั้งระบบตีบอกเวลา และทำแกนแพนดูลั่มใหม่

 

งานซ่อม นาฬิกาแขวนผนัง  เจ้าของเครื่องถอดเครื่องไม่ระวัง  ลานดีด เฟืองชำรุดหลายตัว ฟันรูด แต่ต้องการซ่อมเพื่อให้พ่อ ได้รับบรรยากาศเก่า มีเสียงนาฬิกา ในบ้าน  ดร.คล็อก รับหน้าที่สนับสนุน  ถอดเฟืองเก่า วัดขนาด ทำแบบ โดยเขียนด้วยโปรแกรมเขียนแบบ ก่อนใช้การตัดด้วย Wire Cut  ได้ชิ้นงานดังรูป

 

เมื่อประกอบเสร็จจะได้ดังภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นาฬิกาลูกบอล อีกสไตล์หนึ่ง ใช้หลักการลูกบอลเหล็ก วิ่งไปบนโต๊ะทองเหลือง ซึ่งมีร่องคล้ายฟันเลื่อย  เมื่อวิ่งไปจนสุดทาง จะไปกระทบกลไก ทำให้โต๊ะเอียงกลับทาง  ลูกบอลก็จะวิ่งกลับ  และเมื่อกระทบอีกด้าน โต๊ะก็จะกระดกอีกทาง สลับไปเรื่อยๆ  โดยเวลาที่ใช้ในการวิ่ง แต่ละรอบประมาณ 20 วินาที  สิ่งสำคัญคือจะต้องปรับตั้งระดับ การเอียงของโต๊ะให้เหมาะสม เครื่องจึงจะทำงานได้ถูกต้อง