นาฬิกาข้อมือ ควอท์
นาฬิกาข้อมือที่นิยมใช้สะดวก คือ นาฬิกาใส่ถ่าน หรือ นาฬิกาควอท์(Quartz Watch) เพราะไม่ต้องคอยตั้งเวลา ถ้าถ่านไม่หมด มันก็จะเดินไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักหลับ จักนอน ถ่านอ่อนอาจเดินช้าไปสักนิด ใช้ไปนานๆ อาจเดินไม่ตรงหน่อย โดนน้ำเข้าไป เครื่องอาจไม่เดินเลย หรือพังไปเลย
โครงสร้างของนาฬิกาปนะกอบด้วย 2 ส่วนคือ ระบบเฟือง กลไก และระบบอีกเล็กทรอนิก
รูปโครงสร้าง
งานซ่อมบริการโดยทั่วไปแล้ว คือการเปลี่ยนถ่าน เปลี่ยนสาย อาการเครื่องมาซ่อมคืออาการไม่เดิน แม้นจะเปลี่ยนถ่านใหม่แล้ว ช่างก็จะต้องตรวจสอบนาฬิกา สอง ส่วนด้วยกันคือ ระบบกลไก และ ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นต้องระวัง ถ้าใครบอกว่า มันพังทั้งสองส่วนพร้อมกัน ก็ต้องให้เขาบรรยายให้เป็นที่เข้าใจ ก็แล้วกัน แต่บอกว่าเป็นไปได้ยาก
การเปลี่ยนอะไหล่ อาจมีทั้งแบบยกเครื่อง หรือ เฉพาะวงจร หรือเราเรียกว่า เซอร์กิต หรือ ช่างเรียกว่า PCB ก็ได้ ซึ่งมีตัวไมโครโปรเซสเซอร์ คือหยดน้ำตาเทียนสีดำ (ดร.คล็อก บัญญัติคำนี้ขึ้นมา) ที่เราเห็น แท่งกลมๆ สีเหมือนลวดทองแดง คือ คอยล์( Coil ) อาจ ลัดวงจร หรือ ขาด (ความต้านทาน ประมาณ 2 k Ohm) ทำหน้าที่ให้แกนแม่เหล็กหมุน คล้ายมอเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง ส่วนที่่เห็น เป็นท่อนกลมๆ สีเงิน คือ Quartz ทำหน้าที่สร้างความถี่ให้นาฬิกาเดินตรงเวลา ส่วนมากไม่ชำรุด เป็นอุปกรณ์สุดท้ายที่จะตรวจ การเปลี่ยนบางรุ่นอาจเปลี่ยนเฉพาะชิ้นได้ บางรุ่นจะประกอบพร้อมรวมกัน ราคาก็แตกต่างกัน
ในส่วนของวงจรอิเล็กทรอนิก กรณีไม่มีอะไหล่ ต้องซ่อมของเดิมให้ใช้งานได้ ดร.คล็อก สามารถบอกได้เลยว่า เรามีเทคนิคการซ่อม ยากที่หาใครทำได้
ส่วนระบบกลไก จะประกอบด้วยเฟืองหลายตัว อาจทำจากโลหะ หรือพลาสติก ต้องตรวจสอบ ถอดทำความสะอาด และหยอดน้ำมันหล่อลื่น หรือเรียกกว่าล้างเครื่อง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนาฬิกาควอท์ แบบนี้ ที่เรียกว่า นาฬิกาแฟชั่น ราคาไม่สูงมาก อาจหาซื้อได้ ประมาณ ร้อย สองร้อย บาท ดังนั้นการซ่อมก็ไม่คุ้ม แต่นาฬิกามียี่ห้อ เป็นที่รู้จัก ราคาแพง ก็ต้องซ่อม และเป็นภาระหน้าที่ของ ดร.คล็อก คือการซ่อมนาฬิกา สำหรับผู้สูงวัยจะมีนาฬิกาควอท์เก่าๆ ซึ่งเป็นของดั้งเดิม ผลิตโดย บริษัท ระดับโลก ก็น่าจะซ่อมให้มันเดิน เพื่อความสุขใจ เวลาเอาไปใส่ ออกงาน
นาฬิกาอีกประเภท ที่คล้ายคลึงกัน แต่แสดงผลด้วยจอ LCD ถ้าชำรุด ปัญหาคือการหาอะไหล่ ขอให้ใช้อย่างระมัดระวัง และก็มีบางรุ่นที่ออกแบบผสมกัน คือมีนาฬิกาสองเครื่อง ในเครื่องเดียวกัน ใช้ถ่านแยกกัน
หลังจากซ่อมเครื่องเรียบร้อย บางครั้งเครื่องเก่า ก็ควรใช้เครื่องปั่นเข็ม (ดร.คล็อก ทำเอง) ให้เครื่องหมุนฟรี ไปสักระยะ เพื่อแน่ใจว่าเครื่องจะเดินได้คล่องแคล่ว อย่างว่อง..