นาฬิกาโครโนกราฟ

การพัฒนาเทคโนโลยีด้านนาฬิกา ทำให้ นาฬิกากลไก และ นาฬิกาควอท์ พัฒนาร่วมกัน  ชิ้นส่วนนาฬิกามีความซับซ้อนขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ได้ครบ  นาฬิกาโครโนกราฟ นอกจากจะบอกเวลาตามปกติแล้ว  ยังสามารถใช้จับช่วงเวลา ได้อย่างละเอียด สามารถจับความเร็วของยานพาหนะ  เป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นาฬิกาโครโนการฟควอท์

นาฬิกาโครโนกราฟ แบบ 3 คอล์ย และ แผ่นวงจร เมื่อกดปุ่มด้านข้าง (Pusher)

เครื่องสามารถทำงานในโหมดการจับเวลา  ในลักษณะต่างๆ

ปกติเครื่องจะเดินบอกเวลา โดยเข็มวินาทีเล็ก ร่วมกับ เข็มสั้น และเข็มยาว

ถ้ากดปุ่มบน เป็นโหมดจับเวลา เข็มวินาที ยาว จะเดิน ร่วมกับเข็มเล็กอื่นๆ บอกนาที และ ชั่วโมง ถ้ากดซ้ำอีกครั้ง จะหยุดระบบจับเวลา

ถ้ากดปุ่มล่าง จะทำการปรับศูนย์ Set Zero เข็มระบบจับเวลา จะไปที่ตำแหน่งศูนย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นาฬิกาโครโนกราฟ AMERICA TIME  ประกอบด้วย 3 เข็ม วางในตำแหน่ง 6  9  12  นาฬิกา  ขอบเรือน(Bezel) จะปรับหมุน ใช้ร่วมในการจับเวลา  นาฬิการุ่นอื่นๆ  อาจจัดตำแหน่งเข็มแตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รุ่นสมัยใหม่ อาจมีระบบ ดิจิตอล(Digital) ประกอบด้วย เพื่อนับจำนวนรอบ (Round) หรือจำนวนครั้งในการจับเวลา   นอกจากนั้นก็ยังใช้แสดง วัน วันที่  เช่นเครื่อง ETA 251.252

ชุดเฟืองภายในนาฬิาโครโนกราฟ รุ่น OS20, OS 60  มีแกนจับเวลา วินาทีนาที ชั่วโมง  ยังมีชุดเฟืองบอกเวลาตามปกติ คือ วินาที นาที และชั่วโมง อยู่ส่วนล่างอีกชั้น หนึ่ง ในภาพจะสังเกตเห็น แผ่นกลไก รูปหัวใจ ๒ ชิ้น ด้วย ทำงานร่วมกับกลไก Reset Hammer ปรับให้ชุดเข็มจับเวลา กลับมาเริ่มที่ ศูนย์ (Zero)

ภาพด้านล่าง เป็นชิ้นส่วนภานใน รุ่น ETA 251.252 มี 5 Coil หมายถึงมีระบบขับหมุน หรือ Motor 5 ชุด มีปุ่มกด (Pusher) 4 อัน และที่เข็มชี้ จะเป็นชุดเฟืองส่วนกลาง จะต้องใช้ความสามารถสูงในการถอด ประกอบ  อีกภาพ ด้านหน้า จะเห็นจอแสดงผล LCD จำนวน  2 ชุด  เพื่อแสดง วัน วันที่ เดือน และ จำนวนรอบในการจับเวลา อาการชำรุดคือ ปุ่มกด ด้านข้าง ไม่ทำงาน พบว่า สปริง(Pusher Spring) เสียรูป  และ หักหนึ่งอัน  ต้องนำชิ้นส่วนเฉพาะกับตำแหน่งใช้งาน เช่น 2, 4, 8, 10 นาฬิกา

นาฬิกาโครโนกราฟ แบบออโต (Automatic  Chronograph Watch)

นอกจากนาฬิกาโครโนกราฟแบบ Quartz แล้ว ยังมีแบบกลไก(Mechanic) ซึ่งจะมีชิ้นส่วน ความสลับซับซ้อนมากกว่า นาฬิกาข้อมือแบบกลไกทั่วไป  อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบมีเข็มเล็ก ๆ บอก วันที่  สัปดาห์ เดือน ปี กลางวัน กลางคืน เป็นต้น  อีกแบบคือ คล้ายนาฬิกา Quartz มีกลไก จับเวลา เศษส่วนวินาที นาที ชั่วโมง  การจับความเร็ว  เป็นต้น

เครื่องรุ่นที่นิยมในปัจจุบันคือ ETA7750, 7751,7753 ความเร็วที่เหมาะสมคือ 28800 BPH. ราคาสูงพอควร ในตลาดก็มีทั้งของแท้ ของเทียม การหาซื้อมาก็ต้องศึกษา พิจารณาให้ละเอียด แถบบ้านเราอาจเป็นเครื่องของจีน(Shanghai)  รุ่น A7750 อาจต้องนำมาดัดแปลง เพื่อให้ทำงานได้ถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนั้นยังมีเครื่องรุ่นอื่นๆ อีก อาจเป็นชุดโครโนกราฟประกอบเพิ่ม (Chronograph  Module) เช่น เครื่อง รุ่น ETA2892-A2, Dubois- Depraz Chronograph Module 2020, 2024, 2035, 4900;   Omega Cal. 1040,1041, 3301, 3303; TISOT 2070; 7730, ;TDBK Ca.1369; Lemania 1340, 1341, 5100  เป็นต้น พัฒนากลไกชิ้นส่วน การจัดวางตำแหน่งเข็มแตกต่างกัน  และหลักการทำงานจะคล้ายคลึงกัน

การซ่อม ต้องหาช่างที่มีประสบการณ์ และ ค่าบริการจะสูงพอควร เพราะเป็นงานยาก ไปซ่อมศูนย์ บางแห่ง อาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ในภาพเป็นรุ่น ETA7750 (คล้ายของแท้) ซึ่งอาการที่ต้องซ่อม ก็คือ การเดินๆ หยุดๆ ของเครื่อง และเข็มวินาที การซ่อม ถอดออกเป็นชิ้นๆ  ล้างเครื่อง ตรวจสอบดัดเส้นใย  และพบว่า สปริงเลข ๘ และแป้นคลัช (Clutch) ของจักรเข็ม (Osilator Pinion) ชำรุด

ถ้าท่านมีปัญหา เกี่ยวกับนาฬิกาโครโนกราฟ ไม่ว่าจะเป็นแบบ ระบบ Quartz  หรือ Automatic เชิญสอบถาม ปรึกษา ดร.คล็อก ได้