นาฬิกาโบราณ ตั้งพื้น

นาฬิกาโบราณ ตั้งพื้น อาจหาดูได้ ในวัด โรงพยาบาล ที่มีผู้บริจาคมาให้  โดยมาก ชิ้นส่วนเครื่องมักนำเข้ามาจากต่างประเทศ  ส่วนโครงตู้งานไม้ จะทำในบ้านเรา ทำให้เห็นศิลปแบบไทย ไทย แสดงบนนาฬิกาตั้งพื้น เช่น เทพพนม งานแกะสักไม้ ฝังมุก เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตู้ไม้ฝังมุก  สวยงามมาก  ทั้งแบบไทยๆ และแบบจีนๆ

โครงสร้างเครื่องนาฬิกา โดยทั่วไป เหมือนนาฬิกาโบราณแบบแขวน คือประกอบด้วยกลไก แสดงเวลา  เคาะตีบอกเวลา และ เพลงบอกช่วงเวลา ทุก 15, 30, 45, และ 60 นาที ซึ่งเราจะเห็นมีลูกตุ้มเพื่อให้กำลังในการทำงาน 3 ลูก

งานบริการที่มักจะต้องทำ คือ อาการเดินช้า เดินไว ไม่เดิน  สองอาการแรก พอจะแก้ได้ โดยการปรับตั้ง แต่ถ้าไม่เดิน เป็นเรื่อง ต้องตรวจสอบชิ้นส่วนภายใน และแก้ไข  ที่ตรวจพบ มัก หลุด หลวม หัก คด ชิ้นส่วนสึกหรอ เสียตำแหน่ง กระทบต่อจังหวะการทำงาน โดยรวม

งานซ่อมอีกกรณี คือการหลวมคลอนของแกนเฟือง เป็นเพราะรู หรือบูช บนแผ่นเรือนสึก รูเสียศูนย์ การแก้ไขคือ ตอก ย้ำ (Bush Punching) ด้วยดอกตอกย้ำโดยเฉพาะ (การใช้ไขควงตอกเป็นวิธี ที่ไม่ถูกต้อง) ถ้าชำรุดมาก ก็อาจต้องเปลี่ยนบูชใหม่

งานบริการซึ่งท่านควรทำคือ การซ่อมบำรุงประจำปี ซึ่งทาง ดร.คล็อก ยินดีบริการ และให้คำแนะนำท่านได้

เมื่อถอดออกมาจากตู้ไม้ จะเห็นกลไลภายนอกดังภาพ ซ้ายมือ  เมื่อถอดดูส่วนภายใน จะมีชิ้นส่วนเฟืองมากมาย แบ่งเป็น ๓ ระบบ ดังภาพ ขวามือ  นำไปขัด ล้าง ทำความสะอาด ก็จะเงา แวววาว ดังภาพด้านล่าง (ภาพ ต่างวัน เวลา)

งานตู้ไม้ เช็ดทำความสะอาดก็พอ ไม่ควรขัด ลงเงา เพราะจะทำให้เสียความเป็นของเก่าไป ซึ่งเวลาได้สร้างผลงานไว้ เราก็รักษาไว้ จะดีกว่า  ขื้นอยู่กับเจ้าของ ตัดสินใจ และควรใช้ช่างไม้ ที่มีฝีมือ

ภาพนี้ เป็นกลไกภายนอก ด้านหน้าของนาฬิกา และชิ้นส่วนภายใน  ซึ่งนับเป็นความชาญฉลาด ของผู้คิดค้น ดังน้้น เขาคิดได้ เราก็มาศึกษาให้เข้าใจ ว่าเขาคิดอย่างไร ซึ่งน่าจะง่ายกว่า การคิดขึ้นเอง เมื่อเราเข้าใจการทำงาน หน้าที่ของแต่ละชิ้นส่วน ก็จะทำให้เราตรวจสอบปัญหา และแก้ไข ให้นาฬิกาเดินได้ดังเดิม  สามารถอธิบายเจ้าของเครื่องได้ อย่างถูกต้อง เป็นเหตุ เป็นผล มิใช่บอกแบบเดา ๆ เข้าใจว่า... น่าจะเป็นเพราะ.... เลยงง..ทั้งสองฝ่าย

ถอดชิ้นส่วน ออกเป็นชิ้นๆ ขัด ล้าง ด้วยน้ำยา ทำความสะอาด นำมาตากให้แห้ง เพื่อประกอบให้สมบูรณ์ ต่อไป   ลูกตู้มนาฬิกา ภายในมีตุ้มน่้่ำหนัก ถ้าดีหน่อยก็เป็นแท่งเหล็กหล่อ ทรงกระบอก แต่อีกแบบคือ ตัดเหล็กข้ออ้อย ๔ ท่อน บรรจุในกระบอกสแตนเลส  การตกล่น ทำให้ฝาด้านล่างชำรุด ต้องเคาะแต่ง หรือเสริมด้วยแหวน

เครื่องที่ประกอบเสร็จ ต้องนำมาทดสอบการทำงาน ความเที่ยงตรง โดยวางบนแท่นทดสอบ อย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ปรับจนเครื่องทำงานให้อย่างแม่นยำ เที่ยงตรง จึงประกอบเข้าตู้ไม้ (ดูหัวข้อ การถอดเครื่องออกจากตู้ไม้)

ท่านไม่ต้อง ลังเลใจ เชิญโทร [081 684 6705] ปรึกษา ดร.คล็อก ยินดีให้คำปรึกษา  ในเขตกรุงเทพ บางกรณี ก็สามารถไปบริการนอกสถานที่ได้ เพราะการนำเครื่องมาหาช่าง อาจไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม ท่านที่อยู่ต่างจังหวัด ดร.คล็อก ได้แนะนำแนวทางการถอดเครื่องออกจากตู้ไม้ ถ้าท่านสามารถถอดเฉพาะเครื่องออกมา  และจัดส่งทาง พัสดุไปรษณีย์ (ลูกตุ้ม และ แพนดูลั่ม ไม่ต้องส่ง) เมื่อดร.คล็อก ซ่อมเรียบร้อย ก็ส่งกลับไปให้ท่าน ประกอบเข้าตู้ไม้ดังเดิม ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง  อย่าปล่อยให้นาฬิกา ตาย อยู่เลย ดร.คล็อกจะปลุกให้นาฬิกาท่าน ฟื้น ตื่น ขึ้นมาทำหน้าที่บอกเวลา ได้เหมือนเดิมต่อไป