นาฬิกาโบราณ

 

นาฬิการุ่นคุณปู่ คุณย่า เป็นสิ่งมีคุณค่าประจำบ้าน ที่ควรอนุรักษ์ รักษาไว้ เป็นคุนค่าทางใจ ที่คนรักนาฬิกาอยากสะสม  ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะรู้จัก นาฬิกาที่กำลังซ่อม แขวนไว้ในห้องทำงาน นักศึกษา มาถามว่า มันคืออะไร ก็บอกไปว่า นาฬิกาโบราณ  พวกเขาไม่ค่อยจะเชื่อว่ามันเป็นนาฬิกา เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน  เราก็ต้องอธิบายโดยสรุปว่า มันทำงานอย่างไร จึงจะบอกเวลา เป็นนาฬิกาได้

 

 

 

นาฬิกาเรือนนี้ (ซ้ายมือ) ไปซื้อซากเครื่องมา ร้อยกว่าบาท แล้วมาถอด รื้อ ล้าง ทำความสะอาดเพิ่มเติมชิ้นส่วนที่ขาดหาย พร้อมกับให้ช่างไม้ทำเรือนเครื่อง ปัจจุบันเดินได้ตรง และเคาะบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรง  เราเห็นก็มีความภูมิใจที่ทำให้มันมีชีวิต และบอกเวลาแก่เราได้  ส่วนเรือนทางด้านขวา เป็นเรือนเก่าแก่มาก หน้าปัทม์เซอรามิก เดินเยี่ยม

 

 

 

ดร.คล็อก ให้บริการ ตรวจสอบ ปรับตั้ง ถอดล้างทำความสะอาด หยอดน้ำมันหล่อลื่น  ติดตั้ง ให้เดินได้ตรงเวลา  นอกจากนั้นอาจต้องจัดหา จัดทำชิ้นส่วนที่สูญหาย ชำรุด

 

นาฬิกา เรือนทางซ้าย เป็นตราสมอ จะประกอบในประเทศไทย สามารถบอกวัน(สัปดาห์) และวันที่ได้ ปัจจุบันราคาเป็นหลักพัน

 

ส่วนเรื่อนทางด้านขวา เก่าแก่มาก ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อยังหนุ่ม ดร.คล็อก ได้ซ่อม เครื่องเดินได้เที่ยงตรง เป็นของมีค่าทางจิดใจ ที่ต้องเก็บไว้ ฟังเสียงทุกวัน

 

 

 

ดร.คล็อก ยินดีให้คำปรึกษา เพื่อช่วยกันปลุก นาฬิกา ของท่านให้ตื่นขึ้นมาทำงานดังเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นาฬิกาเรือนนี้ โซ่ขาด ทำการตอกย้ำสลักสแตนเลสใหม่ ใช้ได้ดังเดิม หลักการส่งกำลังคือ ระบบทดกำลังจาก ลานหลัก ผ่านโซ่ไปยังชุดเฟืองเดินเวลา ออกแบบใช้ชุดล้อกรวยเกลียว(Fusee) จากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ (อัตราเรขาคณิต)  ทำให้การส่งถ่ายกำลังบิด(Torque) ได้อย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ เมื่อหม้อลานขิ้นลานเต็มที่  แรงบิดสูง จะถ่ายไปยังล้อขนาดเล็ก  เมื่อลานอ่อนลง แรงบิดลดลง จะถ่ายไปยังล้อขนาดใหญ่ การขึ้นลานสามารถหมุนที่ ล้อกรวยเกลียว

 

คำแนะนำในการตั้งความแรง ความตึงโซ่ให้พอเหมาะ (Setting  Up) ให้หมุนแกนไขชุดหม้อลาน แกนไขอันล่าง ประมาณ 3/4 รอบ หรือ 12 ฟันของเฟืองกันกลับ (Ratchet Gear) ที่ตำแหน่งลานคลายตัวเกือบหมด นั่นคือ โซ่เกือบทั้งหมดพันรอบที่หม้อลาน ในส่วน ล้อกรวยเกลียวจะมีโซ่พันรอบล้อโตสุดเพียงรอบเดียว แรงบิดในการทำงานที่ 3/4 รอบ หม้อลานนี้จะส่งให้ชุดเฟืองอย่างคงที่  การทดสอบการหมุนคลายของโซ่ ทำได้โดยการเอาชุด Escape ออก ใช้ก้านไม้ ข้ดไว้ ขึ้นลานให้เต็ม เอาไม้ออก ทำให้ตรวจสอบการคลายตัวของโซ่ ว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นปกติหรือไม่   ด้วยเหตุที่โซ่เป็นเหล็ก การหมุนที่ช้า มากๆ เมื่อเวลาผ่านไป โอกาสข้อโซ่ติดขัดเป็นไปได้มาก จึงควรมั่นตรวจสอบการหล่อลื่น

 

 

 

นาฬิกาปลุก แบบตั้งโต๊ะ ที่ ด็อกเตอร์คล้อก สะสมไว้ ใช้งานได้ทุกเรือน

 

 

 

 

นาฬิกาปลุก ตั้งโต๊ะ

 

งานซ่อม อาจแบ่งเป็นระดับ

 

ระดับที่ ๑ ถอดล้างทำความสะอาด หยอดน้ำมันหล่อลื่น ปรับตั้งให้เดินปกติแม่นยำ

 

ระดับที่ ๒ ทำตามระดับ ๑ และ การซ่อมการสึกหรอ การชำรุดของชิ้นส่วน การตอกย้ำรูบูช การเปลี่ยนบูช  แกนชำรุด สปริง เฟือง ชำรุด

 

ระดับที่ ๓ ทำตามระดับ ๑ และ ๒ และ การซ่อมผลิตชิ้นส่วนใหม่ ซึ่งไม่มีอาหลั่ย ลูกตุ้ม หน้าปัทม์ เป็นต้น