การทดสอบความเที่ยงตรงเวลา

นาฬิกาควอท์ จะใช้ระบบกลไกร่วมกับไมโครโปรเซสเซอร์ สร้างความถี่ไฟฟ้า ทำให้เครื่องเดินตรงเวลา  ความเที่ยงตรงจะแน่นอน แต่อาจผิดพลาดได้บ้าง ขิ้นกับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า คือแบตเตอร์รี่ และอุณหภูมิของอากาศ  ส่วนนาฬิกากลไก ความช้าไวขึ้นกับปัจจัยด้านความฝืดของชิ้นส่วนประกอบ ตำแหน่งของตัวเรือน วางหงาย วางคว่ำ วางตั้งตำแหน่งเม็ดมะยมในมุมต่าง ๆ ซึ่งความผิดพลาดอาจยอมให้ อยู่ในช่วง 10 - 20 วินาที ต่อ วัน(24 ชั่วโมง) เป็นค่าเชิงปฏิบัติที่ ดร.คล็อก คิดว่าเหมาะสม นาฬิกาเกรดดี หรือคุณภาพสูง อาจมีค่าความผิดพลาดน้อยกว่านี้ ให้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมก็แล้วกัน

หลังจากการล้างเครื่อง ถอดทุกชิ้นส่วน ทำความสะอาด หยอดน้ำมัน ประกอบเข้าเรียบร้อยแล้ว ควรทำการทดสอบ  ความเที่ยงตรงของเวลา นาฬิกาเรือนนั้น โดยใช้เครื่อง Time Grapher ซึ่งทำงานเหมือนกับหมอใช้หูฟัง ตรวจสอบการเต้นของหัวใจคนไข้  ส่วนนาฬิกาเครื่องจะจับสัญญาณเสียง การเคลื่อนที่ของ ม้า(Pallet) และจักรกรอก(Balance Wheel) หรือเรียกว่า การเคาะ(Beat) ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับหน่วยเวลา

การออกแบบนาฬิกา จะกำหนดอัตรทดของชุดเฟืองภายในว่าเป็นเท่าใด แล้วกำหนดให้จักรกรอกหมุนแกว่ง เพื่อคลายชุดเฟืองที่ถูกต้อง ให้แกนวินาทีหมุน 1 รอบ ใช้เวลา 60 วินาที แป๊ะ .. อัตราการแกว่งของจักรกรอกจะกำหนดเป็น จำนวนการแกว่งต่อชั่วโมง หรือ Beat Rate เช่น 18000, 19800, 21600, 25200, 28800, 36000  Beat/Hour  อัตราแกว่งสูง เครื่องจะเดินเรียบ สังเกตการเคลื่อนที่ของเข็มวินาที  การได้เปรียบเชิงกลจะสูง ม้า และ จักรกรอก ไม่ต้องรับภาระหนัก ช่วยลดความฝืด

การปรับตั้ง ให้เส้นกราฟทั้งสอง เข้าใกล้กันมากที่สุด และเดินขนาน เป็นเส้นตรงในแนวระดับ จึงนับว่า นาฬิกาเดินได้เที่ยงตรง ค่าที่บอกความผิดพลาดใน 24 ชั่วโมงคือ 'RATE' [sec/day]  จะบอกว่า นาฬิกาเดิน ช้า-เร็วไปกี่วินาทีใน 24 ชั่วโมง ค่า 'Amplitude [Degree]' คือ มุมการแกว่งของจักรกรอก  ค่า 'Beat Error [ms] จะบอกค่าเวลาที่ผิดพลาดของอัตราการแกว่งจักรกรอก เป็นมิลลิวินาที(1/1000 sec) ถ้าค่ามากจะส่งผลต่อค่า 'RATE'  ส่วนค่า Parameters  จะบอก Beat Rate และ มุมม้าโยก[52] ของนาฬิกา ที่ทดสอบ

ดร.คล็อก มีความพร้อมในการให้บริการทดสอบ ความเที่ยงตรงของนาฬิกา  พร้อมคำอธิบาย หรือตอบคำถามต่าง ๆ ทำให้ท่านมีความมั่นใจ และสามารถ บอกเล่าให้เพื่อนฟังได้ว่า มันเดินตรง เดินเยี่ยมจริง ๆ