ซ่อมระบบกันน้ำ

จุดขายประการหนึ่งของนาฬิกา คือการกันน้ำเข้า (Waterproof) บางคนพูดติดตลก ว่า กันน้ำออก  มีการระบุความลึกในการดำน้ำ คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักดำน้ำ ไม่ควรทดสอบด้วยตนเอง เพราะอันตราย ความลึก 5, 10, หรือ 50 เมตร ยิ่งลึกแรงด้นน้ำจะยิ่งสูง ทำให้แก้วหูแตกได้  และกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต อาจทำให่้เกิดกาซในกระแสเลือด นักดำน้ำลึกๆ นานๆ จะต้องเข้าพักในเคปซูล ปรับความดันอากาศ

ลักษณะโครงสร้าง ระบบกันน้ำของนาฬิกา  มี สาม จุด คือ ด้านหน้าปัทม์ ด้านฝาหลัง และ แกนไข เม็ดมะยม บริเวณหน้าปัทม์ อาจประกอบด้วยการสวมอัด มีซีลยางด้านใน หรือการประสานด้วยกาว

บริเวณฝาหลัง คือซีลขอบฝา การถอดฝาออก อาจทำให้เกิดการชำรุด และรั่วน้ำได้ การซ่อมก็ต้องตรวจสอบจุดนี้

บริเวณแกนไข เม็ดมะยม จะมี โอริง สวมปลอกแกน ปลอกเรือน หรือเรียกว่าก๊อก นอกจากนั้นส่วนด้านในของเม็ดมะยม ก็จะมีโอริง ประกอบเช่นกัน

การทดสอบอาจทำได้ง่ายๆ  โดยนำเครื่องนาฬิกาออก และประกอบเรือนเปล่า นำไปแช่น้ำ สังเกตฟองอากาศ ไอฝ้าน้ำหน้าปัทม์ ก็อาจเห็นการรั่ว

การทดสอบภายในความดันน้ำ นำนาฬิกาใส่กระบอก และอัดอากาศเพิ่มแรงด้นน้ำ ว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่

การสอบภายใต้สูญญากาศ หรือ Vaccum ก็เป็นวิธี ที่นาฬิกาไม่เสี่ยงต่อการจมน้ำ

การบริการ สังเกตด้วยตา หาพบเห็นการชำรุดของ ซีลยาง โอริง ก็จะทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ บางกรณีอาจใช้ซิลิโคนกันน้ำ และทำการทดสอบด้งที่กล่าวมาข้างต้น  บางมาตรฐาน ทุกครั้งที่ถอดฝาหลังต้องเปลี่ยนซีลด้วย  ดังนั้นการถอดบ่อยๆ ก็เป็นเรื่องไม่ดี